ความจริงที่แนบอิงนิยายใน Assassin’s creed Unity

คุณปรับสมดุลระหว่างความจริงของประวัติศาสตร์กับเรื่องราวที่แต่งเติมขึ้นใหม่ของความขัดแย้งระหว่าง Assassin กับ Templar อย่างไร นี่คือสิ่งที่เกม Assassin’s creed พยายามทำสิ่งเหล่านี้ให้มันออกมาสมบูรณ์ตลอดเวลา และใน Assassin’s creed Unity เองนั้นก็กำลังพยายามทำอยู่ด้วยวิธิการแบบใหม่ เรื่องราวประวัติศาสตร์ของกรุงปารีสจะถูกขับเคลื่อนด้วยภารกิจย่อยในเกม

ACU-1-Arno

“ภารกิจย่อยบางอย่างในเกมจะให้คุณได้พบกับตัวละครที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การปฏิวัติฝรั่งเศส แต่จะไม่ค่อยได้มีส่วนเชื่อมโยงเรื่องราวระหว่าง Assassin กับ Templar มากนัก” นักประวัติศาสตร์ประจำเกม Assassin’s creed คุณ Maxime Durand อธิบาย ภารกิจเหล่านี้จะทำให้คุณได้สัมผัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส คุณจะไขปริศนาการฆาตกรรมและตามสืบเรื่องราวความลึกลับและความเชื่อ เช่นเดียวกันกับที่คุณจะได้พบกับบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส คุณ Durand ได้ใส่เนื้อหาบทเรียนทางประวัติศาสตร์และนำพาเราไปสู่เนื้อเรื่องเสริมและบุคคลที่เราจะได้พบเจอ ทีละน้อย ๆ

นายแพทย์ กีโยตีน (Dr. Guillotin)

สัญลักษณ์ที่ผู้คนสามารถจดจำได้มากที่สุดในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสอาจจะเป็นเครื่องกิโยตีน หรือก็คือ “เครื่องประหารชีวิต” ก่อนที่จะมีเครื่องกิโยตีน การประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะมีเฉพาะในหมู่ชนชั้นขุนนาง โดยจะใช้ดาบหรือขวาน แต่ทั้งสองอย่างก็ไม่อาจยืนยันได้เลยว่าจะสามารถทำให้หมดลมหายใจได้อย่างรวดเร็ว (คุณคงไม่อยากจะมีจุดจบกับเพชฌฆาตจอมซุ่มซ่ามหรอก) เครื่องกิโยตีนที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้คิดค้นโดยชายผู้มีชื่อว่า ดร.อ็องตวน หลุยส์ (จขบ.– Dr. Antoine Louise ศัลยแพทย์และนักสรีรวิทยาชาวฝรั่งเศส) เขาได้รับการช่วยเหลือจากโทเบียส ชมิดท์ (จขบ.–Tobias Schmidt วิศวกรชาวเยอรมัน) ที่ช่วยแนะนำเรื่ององศาของใบมีดที่ใช้ในการตัดซึ่งช่วยให้ตายเร็วขึ้น

ACU-2-guillotin

ชื่อของเครื่องกิโยตีนมาจากชื่อของ ดร.โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง (จขบ.– Dr. Joseph Ignace-Guillotin นายแพทย์ชาวฝรั่งเศส) ผู้ซึ่งเสนอเรื่องการประหารชีวิตโดยให้เจ็บปวดน้อยลงกว่าเดิม แต่จริง ๆ แล้วเขาไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตและเขาเองก็รู้สึกเสียใจที่นามสกุลของเขากลายเป็นชื่อของเครื่องมือประหารชีวิต ครอบครัวของเขาพยายามเรียกร้องให้ทางการเปลี่ยนชื่อเครื่องประหารเสียใหม่แต่ก็ไม่เป็นผล โดยครอบครัวของเขาต้องกลายเป็นฝ่ายเปลี่ยนนามสกุลเสียเอง (แฟน(พันธ์แท้)ประวัติศาสตร์อาจจะสนใจที่จะรู้ว่าการประหารด้วยเครื่องกิโยตีนนั้นยังคงเป็นสิ่งที่ถูกกฏหมายในฝรั่งเศสจนถึงช่วงปี 1970 เลยทีเดียว)

ใน Unity คุณจะได้พบกับ ดร.กิโยตีนและชมิดท์ พร้อมด้วย ชาร์ล อองรี ซ็องซง (จขบ.– Charles-Henri Sanson) เพชฌฆาตหลวงชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในช่วงเวลานั้นพอดี ชิ้นส่วนที่พวกเขาใช้สำหรับการประดิษฐ์ถูกขโมยไป และมันก็ขึ้นอยู่กับคุณในการจะช่วยพวกเขาตามหาชิ้นส่วนที่สูญหาย

มาร์กี เดอ ซาด (Marquis de Sade)

เมื่อคนทั่วไปนึกถึง มาร์กี เดอ ซาด พวกเขามักนึกถึงโลกแห่งความซาดิส์ อันมาจากนามสกุลของเขา คุณ Durand บอกว่ามาร์กี เดอ ซาดชอบเรื่อง “ความหลอนและกามารมณ์” งานประพันธ์หลาย ๆ ชิ้นมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ (และความรุนแรง) ในทางธรรมชาติ ซึ่งมันทำให้เขาต้องประสบปัญหากับข้อกฏหมายบ่อย ๆ  ซึ่งเขาก็ต้องจบชีวิตลงที่คุกบัสตีย์ (Bastille ) จากเหตุอาชญากรรมที่เขาก่อขึ้น

ACU-3-Sade

แต่มาร์กีที่คุณจะได้เจอในเกมไม่ใช่คนบ้าวิกลจริตแต่อย่างใด เขาเป็นคนที่ฉลาดและมีพรสวรรค์อย่างเหลือเชื่อ จริง ๆ แล้ว ตอนที่เราเห็นเขาจากตัวอย่างเกมอันล่าสุด เขาเป็นคนมีเสน่ห์แบบ กวน ๆ เขาประดับประดาเครื่องแต่งกายของเขาด้วยเพชรพลอยระยิบระยับและเศษผ้ารุ่งริ่งกับกางเกงขาสั้นที่เหมือนถูกเลื่อยออก คุณจะได้เจอกับมาร์กีหลายครั้งทั้งในเนื้อเรื่องหลักและเนื้อเรื่องเสริม

มาดาม ทูซโซ่ด์  (Madame Tussaud)

คุณคงจะรู้จักชื่อมาดาม ทูซโซ่ด์อยู่แล้ว และอันที่จริงแล้วคุณอาจจะเคยไปเยือนพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของเธอมาแล้วด้วย แต่คุณอาจไม่รู้ว่าในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสนั้น แบบจำลองที่เธอเคยสร้างนั้นคือใบหน้าของผู้ที่ถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีน ใบหน้าหลังความตาย

ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส หลังจากที่เธอถูกจับและเกือบถูกบั่นศีรษะ เธอถูกใช้ให้ทำงานโดยการสร้างหน้ากากมรณะ ซึ่งหน้ากากที่เธอสร้างนั้นมีใบหน้าของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ รอแบ็สปิแยร์ (จขบ — Maximilien François Marie Isidore de Robespierre อดีตประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 เคยกล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตในข้อหาขายชาติ) เธอกล่าวว่าเธอต้องลงทุนคุ้ยเหล่าซากศพเพื่อหาหัวที่จะต้องปั้นด้วยตัวเธอเอง ในเกมคุณจะได้พบกับเธอบ้างในภารกิจย่อยและได้พูดคุยกับเธอและธุรกิจประหลาด ๆ ของเธอ

อ็องตวน ลาวัวซีเยร์ (Antoine Lavoisier)

คนทั่วไปรู้จักเขาในฐานะบิดาแห่งวงการเคมีสมัยใหม่ เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเคมีในสมัยศตวรรษที่ 18 หนึ่งในผลงานการค้นพบที่เป็นที่น่าจดจำของเขาคือการมีส่วนร่วมกับการค้นพบ “การเผาไหม้ในการอากาศ” (จขบ — เขาไม่ได้ค้นพบมันด้วยตัวเองในเริ่มต้น แต่ก็ได้ทำการทดลองจนแน่ใจแล้ว เขาจึงตั้งชื่อธาตุที่ได้จากการทดลองนั้นว่า Oxygen และ Hydrogen) เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมาธิการดินปืนแห่งชาติ (National Gunpowder Commission) ที่ซึ่งภายหลังเขาได้พัฒนาการผลิตดินปืน เขาทำงานที่นั่นได้ 20 ปีจนก่อนที่การปฏิวัติฝรั่งเศสจะเริ่มต้น หลังจากถูกบังคับให้ลาออก ลาวัวซีเยร์ถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศและถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยตีนในปี 1794 ใน Assassin’s creed Unity คุณจะได้พบกับเขาในภารกิจที่ชื่อว่า The Chemical Revolution ซึ่ง Arno จะต้องช่วยเขาหนีออกจากการถูกจับกุมและช่วยหาสูตรในการทำระเบิดเคมี

“แน่นอนว่านักเล่นเกมจำนวนมากจะต้องคาดหวังว่าทุก ๆ เกมของเราจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์สุดเจ๋งคอยสร้างอาวุธให้และต้องมีส่วนพัวพันกับมัน” คุณ Durand กล่าว “ลีโอนาร์โด ดา วินซี ทำให้เกิดความคาดหวังแบบนั้น ในทุก ๆ ช่วงเวลามักมีนักวิทยาศาสตร์สุดเจ๋งหรือมีบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่ แต่เราจะไม่ควรกระโดดไปสร้างตัวละครแบบดา วินซีตลอดเวลา บางครั้งมันก็ไม่จำเป็นต้องมีการเมืองหรือวิทยาศาสตร์อยู่ในเกมตลอดเวลาหรอก”

ใช่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสที่บุคคลผู้มีชื่อเสียงทั้งหลายถูกโขกสับทุกทิศทุกทาง

ACU-4-solve case

ปีศาจสีแดงแห่งวังตุยเลอรี (The Red Ghost of Tuileries Palace)

วังตุยเลอรีถูกสร้างขึ้นติดกับโรงงานกระเบื้อง วังตุยเลอรีจึงถูกลือเรื่องความหลอน “Le Petit Homme Rouge” หรือ ชายร่างเล็กผู้มีสีแดง (จขบ — The Little Red Man ) บางคนที่เคยเห็นเขากล่าวว่าชายคนนั้นมาเพื่อปกป้องพวกเขา แต่บางคนก็บอกว่าเขามาเพื่อทำนายความตายให้แก่พวกเขา (จขบ — เท่าที่อ่านคร่าว ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ใครก็ตามที่เห็นเงาปีศาจสีแดงนี้จะต้องตายด้วยเหตุอะไรสักอย่างในภายหลังค่ะ) แม้แต่นโปเลียนยังต้องรับมือกับปีศาจสุดประหลาดตนนี้ “อันที่จริง เราเองก็ไม่รู้ว่าเรื่องเล่านี้มันเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่มันก็น่าสนใจเหมือนกัน” คุณ Durand บอก “มันคือเหล่าตำนานอันน่าพิศวงของประวัติศาสตร์เมืองปารีสซึ่งได้ใส่เอาไว้ให้ในเกม”

À la lanterne (To the Lamp Post!)

À la lanterne เป็นวลีที่นิยมใช้กันมากในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส คุณ Durand อธิบายว่า ในช่วงเวลานั้นชาวเมืองปารีสจะจุดโคมไฟใส่ตะแกรงที่แขวนไว้ตรงสถานที่ที่พวกเขาใช้ประหารชีวิตพวกขุนนาง (จขบ — ประโยคนี้ไม่รู้จะแปลยังไงดี แต่เท่าที่อ่านเรื่องการจุดโคมไฟนี่ก็เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการประท้วงของชาวบ้านในขณะนั้นค่ะ โดยชาวบ้านจะจุดโคมไฟขึ้นเมื่อพวกเขาจะทำการลงประชาทัณฑ์หรือตัดคอพวกขุนนางที่ใต้โคมไฟที่จุดขึ้น) Arno จะมีภารกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ การที่ใครสักคนถูกส่งไปตายทั้ง ๆ ที่เป็นแค่ขุนนางคนหนึ่งนั้นมันฟังดูขัดกับหลักจริยธรรม “เมื่อคุณกำลังเล่นเกม เป้าหมายของเราไม่ได้ต้องการให้ Arno เป็นพวกหัวปฏิวัติจ๋า หรือเป็นพวกแอนตี้การปฏิวัติ” คุณ Durand กล่าว “เราต้องการให้ผู้เล่นแสดงออกได้ทั้งสองอย่าง โดยให้ตัดสินใจเองว่าอะไรถูก อะไรผิด”

บูชาบาโฟเมท (The Cult of Baphomet)

เหมือนเรื่องปีศาจสีแดง ภารกิจเกี่ยวกับพิธีกรรมบูชาซาตานก็เป็นเรื่องราวลึกลับอีกด้านหนึ่งของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส คุณต้องทำการขโมยวัตถุลึกลับมาเพื่อลอบเข้าไปยังพิธีกรรมประหลาดนั่นและหาว่าพวกคนเหล่านั้นกำลังทำอะไรกัน ในทางประวัติศาสตร์บาโฟเมทมีส่วนเชื่อมโยงกับอัศวินเทมพลาร์ ดังนั้นคุณก็อาจจะเดาได้ว่าพิธีกรรมนี้ไม่ได้มีเพื่อ Assassin

Eugène François Vidocq

เขาได้รับการขนานนามว่าเจ้าพ่อแห่งวงการอาชญากรรมสมัยใหม่ ในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส Eugène François Vidocq ได้กลายมาเป็นหัวหน้าตำรวจ เขาเคยเป็นอาชญากรและติดคุกหลายครั้ง ซึ่งนี่เป็นที่แรกที่ Arno จะได้พบเขา Vidocq หวังว่าเขาอยากจะได้ชดใช้ในสิ่งที่เขาก่อและทำให้ปารีสกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น ที่คนสามารถอยู่อาศัยได้ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับคุณในการช่วยเหลือเขา

ACU-5-vidocq

ที่มา (Source) : UbiBlog

แหล่งอ้างอิงเสริม : Wikipedia , Google , THW3 Dictionary , The Free Dictionary ,

http://en.wikipedia.org/wiki/French_Revolution  : การฏิวัติฝรั่งเศส

http://en.wikipedia.org/wiki/Joseph-Ignace_Guillotin

http://en.wikipedia.org/wiki/Guillotine  : กิโยตีน

http://en.wikipedia.org/wiki/Madame_Tussauds : มาดามทุซโซต์ 

http://en.wikipedia.org/wiki/Marie_Tussaud/

http://www.madametussauds.com/bangkok/en/

http://en.wikipedia.org/wiki/Antoine_Louis   :  อ็องตวน หลุยส์

http://en.wikipedia.org/wiki/Marquis_de_Sade  :  มาร์กี เดอ ซาด

http://en.wikipedia.org/wiki/Charles-Henri_Sanson

http://en.wikipedia.org/wiki/Storming_of_the_Bastille  : การทลายคุกบัสตีย์

http://en.wikipedia.org/wiki/Antoine_Lavoisier  : อ็องตวน ลาวัวซีเยร์

http://en.wikipedia.org/wiki/Maximilien_de_Robespierre มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

The Red Ghost of Tuileries Palace : http://www.mysteriesofparis.com/2014/04/16/red-man/

http://en.wikipedia.org/wiki/%C3%80_la_lanterne

http://en.wikipedia.org/wiki/Eug%C3%A8ne_Fran%C3%A7ois_Vidocq

ปล. ถ้าเจ้าของบล็อกแปลผิดตรงไหน หรือตกหล่นอะไรไปทักท้วงได้เลยนะคะ 😀

5 comments

  1. แอบน่าสนใจตรงที่ปีศาจสีแดงกับบาโฟเมท เข้าไปพิสูจน์เรื่องลึกลับ เป็นอีกอารมณ์ที่น่าสนใจจริงๆ

    • ภาคนี้สงสัยจะมีภารกิจรอง ๆ มาให้เราทำแก้เซ็งเยอะมากแน่ ๆ เลย ใส่มาหลาย ๆ อย่างแบบนี้เพิ่มความสุนกได้เยอะเลยนะคะ อิอิ
      ปล. เย่!! มีคนมาคอมเมนต์แล้ว ดีใจจัง ฮา ๆ ไม่ทันเห็น ขออภัยค่ะ

  2. หลังจากเล่นมาหลายภาคแบบเอาให้เบื่อจนไม่อยากเล่นเลยแล้ว
    ผมคิดว่าลักษณะของภารกิจรองที่น่าจะเล่นแล้วสนุกจริงๆ น่าจะเป็นแบบที่เป็นเนื้อเรื่องขนานไปกับเนื้อเรื่องหลักมากกว่า อย่างเช่นใน black flag จะเป็นการล่าเทมพลาร์
    ถ้าเป็นแบบไม่มีเนื้อเรื่องก็น่าจะมีแรงจูงใจ แค่เศษเงินนิดๆหน่อยๆ ใครจะอยากทำกัน

  3. เพิ่งมาได้อ่าน ในเกมเจอ นโปเลียน โบนาปาร์ท ด้วย ^ ^

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s