ปัญหาเกมและเด็กไทย

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นต้องขออภัยผู้ติดตามทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อก krezeegamer นะคะที่ จขบ. หายไปนานมากกกก (ลากเสียงยาว ๆ เลย) ช่วงนี้งานมันชุมไม่ต่างจากยุงกันเลยทีเดียว (ต่างตรงที่ทำละได้ตังค์ ฮา แหนะ ยังจะมามุกอีก) คือในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ มีประเด็นร้อน ๆ เกี่ยวกับวงการนักเล่นเกมในไทยหลายเรื่องเลย เอาจริง ๆ ก็มีมาสักพักแล้ว วันนี้ จขบ. ขอออกความเห็นในประเด็นที่เกี่ยวกับเกมและเด็กสักหน่อยแล้วกันนะคะ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ ท่านใดจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร หรือหากต้องการจะร่วมแสดงความเห็น สามารถพิมพ์ไว้ที่ช่องคอมเมนท์ด้านล่างได้เลยนะคะ

ประการที่ 1 การจัด Rate ผู้เล่นเกม

ที่เอาอันนี้ขึ้นมาเป็นหัวข้อแรก เพราะ จริง ๆ แล้วอยากจะกล่าวถึงหัวข้อนี้นานมากแล้ว ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้วแหนะ (นานมาก) ตั้งแต่ตอนที่ Assassin’s creed ภาค Odyssey (พิมพ์ยังไงนะ ลืม -_-“) ออกใหม่ ๆ วันนั้น จขบ. ไปเดินทำตัวเองให้จน (ไปซื้อของค่ะ) ที่ห้างแห่งหนึ่งใน กทม. แล้วเดินผ่านร้านขายเครื่องเล่น PS4 และ เกม เห็นเด็กผู้ชายน่าจะใกล้ชิดกับคนในร้าน อายุประมาณ 9 – 10 ขวบ กำลังนั่งเล่นเกม Assassin’s creed Odyssey!!! ถ้าคนเดินผ่านไปมาไม่คิดอะไรก็คงคิดว่า เออ เด็กคนนี้เก่งดีนะ เล่นเกมผู้ใหญ่ได้ ภาษาอังกฤษเก่งดี แต่!!! ประเด็นมันไม่ได้อยู่ตรงนั้นค่ะ คุณกิตติขา ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเกมนี้ถูกจัด Rate ไว้ที่ 18+ เข่าเทพซุด (เฮ้ย แทบทรุด) ละเกมนี้ฉากฆ่ากัน ฉากล่อแหลม ฉากที่ไม่ควรจะให้เด็กได้ดูมันมีเยอะมาก แล้วผู้ใหญ่ในร้านก็ไม่ได้ยี่หระ อะไรกับการที่จะปล่อยให้เด็กเล่นเกมที่มีภาพความรุนแรงนั่นเลย ทั้งที่ตัวเกมก็บอกชัดนะว่าทำมาเพื่อใคร (โอเคก็อาจจะมีอลุ่มอล่วยกันบ้าง กรณี เด็กโตขึ้นมาหน่อย แต่ก็นั่นแหละ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณจริง ๆ)

ใจจริงไม่อยากจะต่อว่าคนในวงการเกม และคนที่เกี่ยวข้องกับเกมบ้านเราเลย จริง ๆ แต่เราจริงจังกับการห้ามผู้ชมที่อายุไม่ถึงในการเข้ารับชมสื่อบันเทิง ทั้งภาพยนตร์ ทีวี เพลง และเกมกันมากแค่ไหน ทำไมเรามองข้ามเรื่องนี้ไปได้ โอเค ในวงการภาพยนตร์ดูจะจริงจังกับการห้ามมากกว่าสื่ออื่น ๆ แต่ทำไมถึงจริงจังกันแค่เฉพาะจุดนั้นล่ะ

ที่ผ่านมาเราเห็นแล้วว่าเด็กบ้านเราเล่นเกมกันเยอะแค่ไหน เห็นข่าวไหมคะ เด็กขู่จะทำร้ายแม่เพราะโมโหที่เล่นเกมแพ้ หรือเด็กที่อารมณ์โมโหร้ายรุนแรงเพราะติดเกม หลายคนปกป้องเกมบอกว่า เด็กมันทำตัวไม่ดีเอง อย่าไปโทษเกม และเป็นเพราะสภาพพื้นฐานครอบครัวเด็กเองด้วย ถูกค่ะ จขบ. เห็นด้วย เพราะเด็กส่วนใหญ่ หรือแม้กระทั่งสมัยที่ จขบ. เป็นเด็กก็ไม่เคยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากเกม แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะเป็นอย่างนั้นได้ และก็นั่นแหละปัจจัยมันมีหลายอย่างมาก มันถึงได้เกิดข้อกำหนด ข้อบังคับมากมายเพื่อลดผลเสียอันอาจจะเกิดขึ้น มาถึงจุดนี้เข้าใจสิ่งที่ จขบ. ต้องการจะสื่อไหมคะ เกมส่วนใหญ่มีการกำหนด Rate สำหรับผู้เล่นมาอยู่แล้ว คนขายเกม คนซื้อเกม ช่วยจริงจังกับมันหน่อย เขาไม่ได้ใส่ตัวเลขมาเพื่อให้แค่ผ่านกรรมการคัดกรองหรอกค่ะ เขาใส่มาเพราะเขาพิจารณาแล้วเห็นว่ามันเหมาะสมกับใครแล้วจริง ๆไม่ใช่ใส่มาพร่ำเพรื่อนะคะ โดยเฉพาะคนขายค่ะ ควรทำให้มันเหมือนคนที่เค้าขายเหล้าบุหรี่อะ ถ้าเด็กมาซื้อคุณไม่ขายถูกไหม แล้วทำไมกับเกมที่มี Rate อายุมากกว่าคนซื้อคุณถึงขายละ อย่าเห็นแก่เงินจนละเลยสิ่งที่ควรทำเลยค่ะ

หลายคนบอกว่า ก็เราไม่ได้ขายให้เด็กนะ แต่เด็กมันหาโหลดเถื่อนเอาเอง เกินความควบคุม อันนี้ จขบ. ก็จนปัญญาจริง ๆ แต่ขอเสนอไว้ว่า เราควรมีการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรื่องนี้ได้แล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำอย่างไร รู้แต่ว่าผู้ออกนโยบาย (Policy Maker) ทั้งหลายแหล่ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักเรื่องนี้ได้แล้ว สร้างหลักปฏิบัติให้เด็กคิดเองได้ว่าเขาควรปฏิบัติอย่างไร และผู้ปกครองเอง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ใกล้ชิดกับเด็กที่สุดจะต้องรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร

ประการที่ 2 ความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์

โห หัวข้อดูยิ่งใหญ่อลังการณ์งานสร้างมาก ในฐานะผู้ผลิตเนื้อหาและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงเสมอคือ เราไม่ได้ทำเพื่อให้แค่เราดูกันเอง แต่ยังมีกลุ่มผู้ชมที่หลากหลายซึ่งเราไม่รู้ว่ามีใครบ้าง เขามีวิจารณญาณมากน้อยแค่ไหน การผลิตเนื้อหาเผยแพร่จึงต้องทำอย่างระมัดระวังที่สุด เพราะเราเองก็คงไม่อยากได้ขึ้นชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรอกถูกไหม

ที่เล่ามาทั้งหมด ไม่ใช่ว่า จขบ. จะเป็นคนเคร่งครัดกับกฏเกณฑ์ทั้งหลายที่กล่าวไปข้างต้นหรอกนะคะ ยอมรับเลยว่าเริ่มเล่นเกมที่เกินกว่าอายุ ตั้งแต่ตอนอายุ 13 ปี (ที่บ้านซื้อให้อีกต่างหาก) นี่แหละค่ะ ตัวอย่างของการมองข้ามเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (เจ็บปวดแต่ก็เรื่องจริง) เอาเป็นว่าต้องรู้ตัวเสมอว่าตัวเองกำลังทำอะไร และจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้กระทบกับคนรอบข้าง เพราะเวลาเราเล่นเรามีความสุขของเราคนเดียวถูกไหม (ยกเว้นนักแคสเกมนะคะ ที่เขาเล่นแล้วแบ่งปันความสุขให้คนอื่น ๆ และยังทำประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยการสร้างรายได้ได้อีกด้วย) แล้วทำไมเวลาที่เรามีปัญหาเราต้องไปโยนความทุกข์ให้คนอื่น  เล่นอย่างมีสติ และเล่นแล้วต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้นะคะ อย่าเล่นแล้วกลายเป็นเสพติด จนสร้างความเดือดร้อน ที่ว่าหาประโยชน์ จะขอยกตัวอย่างของ จขบ. นะคะ มันช่วยทำให้ภาษาอังกฤษของ จขบ พัฒนาไปได้เร็วกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันมาก ๆ เลยค่ะ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญของโลก รู้จักคิด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ วางแผนในชีวิตและการทำงานได้หลายมุมขึ้น และที่สำคัญช่วยทำให้เกิดความสนุก และความสุขเวลาที่ได้เล่มเกมที่เราชอบค่ะ

ร่ายมายาวมาก ไม่เคยเขียนยาวอย่างนี้มาก่อนเลย จนกระทั่งได้ดูคลิปเด็กโมโหร้ายอันนั้นค่ะ ตัวเองก็ไม่มีความสุข ครอบครัวก็ทุกข์ ได้ยินเสียงแม่เด็กไหมคะ ร้องไห้ไปด้วย พูดไปด้วยความอัดอั้นใจ ไหนจะยายเด็กที่ก็เครียดไปกะเด็กอีก แถมยังโดนสังคมประนามอีก เป็นการตอกย้ำให้คนในสังคมที่เขาก็ไม่ได้เข้าใจวงการเกมอยู่แล้ว ให้มองเกมในภาพลบไปอีก

สุดท้ายนี้ ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ แค่บ่น ๆ ตามประสาคนเริ่มจะมีอายุ (T-T เจ็บปวด งือ) มีอะไรก็ทักทายและคอมเมนต์ที่ช่องด้านล่างได้นะคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s